จากตอนที่แล้วได้ยกเรื่องราวของการเปลี่ยนชื่อ(rename)ทั้งโปรแกรมไปแล้ว ในตอนนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามีฟังก์ชันอะไรน่าสนใจกันอีกที่ช่วยให้เราเขียนโปรแกรมได้สบายขึ้นบ้าง ผมขอแนะนำเป็นบ้างตัวสำคัญๆนะครับ
เริ่มต้นกันเลย
- Move. เป็นคำสั่งที่ใช้ในการย้าย method ไปยัง class ต่างๆ โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Move...
- Pull up. คล้ายกับคำสัง Move แต่จะเป็นการย้ายไปยัง superclass แทน โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Pull up...
- pull down. ตรงข้ามกับ pull up เลย คือย้าย method ลงมาจาก superclass เป็น subclass โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Pull down...
- Change method signature. ปรับเปลี่ยน ค่าต่างๆใน method เช่น access modifier, return type, method name, parameters เป็นต้น โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Chage method signature...
- Extract method. ใช้แนวคิดคล้ายๆ encapsulates คือเลือก โคดที่เราจะแตกเป็น method ย่อย โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Extract method...
Before
After
- Extract interface คือเป็นการแตก method ที่เราเลือกให้เป็น interface class กลายเป็น class ต้นแบบไป และ class เดิมโปรแกรมจะสร้าง implements ขึ้นมาให้ โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Extract interface... เช่น
Before
After
- Use Supertype. คือการเรียกใช้ interface class อย่างตัวอย่างข้างบน เราสามารถเรียกใช้ class B ได้โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Use Superype...
- Extract local variable. เป็นการเปลียนจากข้อความให้เป็นตัวแปร โดยโปรแกรมจะสร้างตัวแปรให้มาให้เรา โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Extract local variable... เช่น
Before
After
- Inline local variable. ตรงกันข้ามกับ Extract local variable คือแทนที่ตัวแปรเป็นข้อความโดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Inline...
- Encapsulate. เปลี่ยนจาก public เป็น private โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Encapsulate filed...
Before
After
- Extract constant. เปลียนค่าหรือข้อความให้เป็นค่าคงที่โดยใช้ ฟังก์ชัน Refactor => Extract constant...
Bofore
After
ผมก็ได้หยิบยกตัวอย่างของ refactoring บ้างตัวมานำเสนอหวังว่าการนำเสนอนี้จะสามารถช่วยให้การเขียนโปรมแกรมของคุณคล่องหรือสบายขึ้นนะครับ
ก็โอเคนะครับ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยสมดุลสักเท่าไร หลัง ๆ มา มีแต่ Eclipse
ตอบลบ